เมนู

ด้วยอริยทรัพย์ ละมิจฉามรรคเสียได้. ทำเวรและ
ภัยทั้งหลายให้สงบ, ทำตนให้เป็นลูกผู้เกิดแต่อก
แห่งพระพุทะเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก, ญาณนี้ย่อม
ให้ซึ่งอานิสงส์อื่น อีกหลายร้อยอย่าง.


12. อรรถกถาผลญาณุทเทส


ว่าด้วย ผลญาณ


ในคำว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺญา ผเล ญาณํ แปลว่า
ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ปโยโค แปลว่า การประกอบอย่างแรงกล้า, คือความ
พยายามที่ออกจากและขันธ์ทั้ง 2 ได้ด้วยมรรคภาวนาโดยทำให้แจ้ง
ซึ่งผล. ความสงบปโยคะคือความพยามนั้น คือการถึงที่สุดแห่งโยคะ
ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ. ปโยคปฏิปัสสัทธินั้นอย่างไร ? คือการสิ้นสุด
แห่งกิจในมรรคทั้ง 4.
ปัญญาในผลเป็นไปแล้ว เพราะปโยคปฏิปัสสัทธินั้นเป็นเหตุ
ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา. ปัญญานี้เป็นผลเพราะอรรถว่า ย่อม
ผลิตผล คือย่อมให้เกิดวิบาก, ในผลนั้น ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผล-
จิตนั้น (ชื่อว่า ผเล ญาณํ) ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่ง ๆ ผลจิตอัน

เป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้น ๆ นั่นแหละมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เกิด
ขึ้น 3 ขณะก็มี 2 ขณะก็มี 1 ขณะก็มี. และเพราะผลจิตนั้นเป็น
วิบากเกิดขึ้นในลำดับแห่งโลกุตรกุศลทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ว่า สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิอันประกอบ
ด้วยผลญาณ ซึ่งเกิดต่อจากมรรคญาณว่าเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงรู้ทั่วถึง,
และตรัสคำเป็นต้นว่า ทนฺธํ อานนฺตริกํ ปาปุณาติ อาสวานํ
ขยาย
1-พระโยคีบุคคลบรรลุธรรมวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า.
อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี 2 ขณะ, ที่ 3 เป็น
โคตรภู ที่ 4 เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก 3 ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล
นั้น. (รวมเป็น 7 ตามชวนนิยาม)
อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี 3 ขณะ, ที่ 4 เป็น
โคตรภู ที่ 5 เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก 2 ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล
นั้น. (รวมเป็น 7 ตามชวนนิยาม)
อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี 4 ขณะ, ที่ 5 เป็น
โคตรภู ที่ 6 เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก 1 ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล
นั้น. (รวมเป็น 7 ตามชวนนิยาม)
1. องฺ. จตุกฺก. 21/162.

นี้ เป็นผลในมรรควิถี. ส่วนผลในระหว่างกาล เกิดขึ้นด้วย
อำนาจสมาบัติ และเกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติก็สงเคราะห์ด้วย
ผลญาณนี้เหมือนกัน.

13. อรรถกถาวิมุตติญาณุทเทส


ว่าด้วย วิมุตติญาณ


คำว่า ฉินฺนวฏุมานุปสฺสเน ปญฺญา แปลว่า ปัญญาใน
การพิจารณาเห็นอุปกิเลสอันอริยมรรคตัดขาดแล้ว ความว่า ปัญญา
ในการเห็นภายหลังซึ่งอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรคนั้น ๆ ตัดขาดแล้ว.
คำว่า วิมุตฺติญาณํ เป็นวิมุตติญาณ ความว่า ญาณในวิมุตติ.
คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่จิตบริสุทธิหลุดพันจากอุปกิเลสทั้งหลาย,
หรือความที่จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว, ญาณคือความรู้ในวิมุตตินั้น ชื่อว่า
วิมุตติญาณ.
ท่านกล่าวอธิบายการพิจารณากิเลสที่ละแล้วด้วยญาณนี้ว่า พระ-
อริยบุคคลเมื่อพิจารณาความสืบต่อแห่งจิตที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้วก็ดี ซึ่ง
ความหลุดพ้นจากกิเลสก็ดี เว้นกิเลสเสียก็พิจารณาไม่ได้ดังนี้. ก็คำว่า
วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ แปลว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว